African wax prints

13 09 2021

African wax prints

ผ้าพิมพ์ขี้ผึ้งแอฟริกัน หรือ Ankara เป็นเทคนิคการย้อมลายผ้าด้วยการวาดลวดลายลงบนผ้าด้วยขี้ผึ้งร้อนรอให้แห้ง แล้วจุ่มผ้าลงในสีย้อมเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์ และสีสันสดใส

ต้นกำเนิดของภาพพิมพ์ดังกล่าวมีที่มาจากยุคสมัยอาณานิคมที่แอฟริกาถูกปกครองโดยชาติตะวันตก โดยมี 2 ต้นกำเนิด ต้นกำหนดแรกมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มทหารจากแอฟริกาตะวันตกที่ถูกดัตช์จ้างไปรบที่บริเวณหมู่เกาะสุมาตรา และได้นำเอาผ้าบาติกจากชวาที่มีกระบวนการผลิตที่คล้ายคลึงกันกลับมาเป็นต้นแบบในการผลิตที่แอฟริกา อีกจุดกำเนิดหนึ่ง ได้มีการเริ่มนำเข้าผ้าบาติกจากชวาเข้าไปยังอาณานิคมโกลด์โคสต์ (Gold Coast) หรือ ประเทศกานาในปัจจุบัน โดยนักธุรกิจชาวอังกฤษ ใน ค.ศ. 1893 ต่อมาผู้หญิงแอฟริกันก็เริ่มทำผ้าพิมพ์ขี้ผึ้งโดยได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าบาติกเพื่อหารายได้ภายใต้การสนับสนุนโดยคณะมิชชันนารีชาวสวิส ซึ่งก็ได้มีการพัฒนา และปรับเปลี่ยนให้เป็นให้เป็นชุดสำหรับใช้ใส่ในชีวิตประจำวัน

ในเวลาต่อมาผ้าพิมพ์ขี้ผึ้งแอฟริกันมีชื่อเสียงอย่างมากเมื่อแบรนด์เสื้อผ้าดังของฝรั่งเศส Dior ได้นำเอาลวดลายของผ้าชนิดนี้มาปรับใช้ในดีไซน์เสื้อผ้าของตน

โสมพันธ์, รัตนาวดี. (2020). 7 ประวัติศาสตร์น่ารู้ ที่ซ่อนอยู่ในลายผ้าแอฟริกัน. สืบค้นจาก
Spencer, Clare. (2020). Wax print: Africa’s pride or colonial legacy?. Retrieved from